โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 52 – การทรงตัวและความยืดหยุ่น (2)

อัตราการเสียชีวิตจากการหกล้ม (Fall) ของชาวอเมริกัน เพิ่มขึ้น 30% ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 ถึง ค.ศ. 2016 จากการพยากรณ์ (Projection) เมื่อถึงปี ค.ศ. 2030 มีความเป็นไปได้ที่จะมีการเสียชีวิตจากการหกล้มมากกว่า 60,000 รายต่อปี ในสหรัฐอเมริกา

การฝึกฝนการทรงตัว (Balance) จึงเป็นการแก้ไข (Intervention) ที่สำคัญในการลด (Mitigate) ความเสี่ยงของการหกล้ม และงานวิจัย พบว่าสามารถลดอัตราการล้มได้ถึง 34%

ความยืดหยุ่น (Flexibility) เป็นเสาหลัก (Pillar) สุดท้ายของความสมบูรณ์ของร่างกาย (Fitness) ถึงแม้จะไม่สำคัญเท่ากับ 3 เสาหลักก่อนหน้านี้ สำหรับผลลัพธ์ (Out-come) ทางสุขภาพทั้งหมด แต่มันก็ยังมีบทบาทที่สำคัญ (Significant) ในการปรับปรุง (Betterment) ชีวิตประจำวันและผลิตภาพ (Productivity)

ตามข้อมูลจากผู้ให้บริการ (Service provider) ชั้นนำ ว่าด้วยสิทธิประโยชน์ของผู้ด้อยความสามารถ (Disability benefit) บ่งชี้ว่า อันดับ 2 และ 3 ของการเรียกเก็บค่าชดเชยสิทธิประโยชน์ในระยะยาว ได้แก่ ภาวะทุกข์ทรมานของหลัง (Back disorder) และบาดเจ็บ (Injury)

การยืด (Stretching) และการฝึกฝนความยืดหยุ่น (Flexibility) อาจนำไปสู่การปรับปรุงทั้งสองด้านนี้ หลังของมนุษย์ (กระดูกสันหลัง [Vertebral column]) ไม่ได้ตั้งตรง (Straight) แต่ประกอบด้วยจำนวนต่อเนื่อง (Series) ของ 4 เส้นโค้ง (Curve) ที่ให้การสนับสนุน (Support) ผ่านแรงโน้มถ่วง (Gravity) และการยึดครองน้ำหนัก (Load bearing) ที่สมดุล

พันธุกรรม (Genetics), อายุ (Age), การเพิ่มน้ำหนัก (Weight gain), รูปแบบการดำเนินชีวิต (Life-style) และขาดความสมบูรณ์ของร่างกาย (Fitness) อาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในเส้นโค้งปกติ (Normal curve) อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการยึดครองน้ำหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติ (Abnormality) และปวดหลัง

ตัวอย่างเช่น เอ็นร้อยหวาย (Ham-string) อาจดึงลงซึ่งเชิงกราน (Pelvis) ของคนและทำให้หลังส่วนล่าง (Lower back) ของเขาเกิดความโค้ง (Curvature) ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจ (Intended)

ในวัยรุ่น (Adolescent) ต้นขาหน้า (Quadricep) และต้นขาหลัง [เอ็นร้อยหวาย] ที่แน่น (Tight) เป็นปัจจัยเสี่ยงอิสระ (Independent) ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอาการปวดหลังด้านล่าง ในคนที่ยืนทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม การยืดต้นขาหลังสามารถปรับปรุง (Improve) อาการปวดหลังและความสามารถในการทำงานได้

ความยืดหยุ่นยังอาจมีบทบาทในการลดการบาดเจ็บ เหตุผล (Rationale) นั้นอยู่ที่ความคิดว่ากิจกรรมบางอย่างต้องอาศัยกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น (Tendon) ที่ยืดได้ (Stretch), เก็บ (Store), และปลดปล่อย (Release) พลังงาน (Energy) ได้

แหล่งข้อมูล – 

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.